ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ผลงานต่างๆที่ผ่านมา
dot
dot
ตกแต่งบ้าน ตกแต่งคอนโด
dot
bulletตกแต่งบ้าน คุณ.เมษา
bulletตกแต่งบ้าน โครงการบ้านกลางกรุง
bulletตกแต่งCONDO โครงการ The RAJDAMRI
bulletออกแบบตกแต่งคอนโด Empire Place สาธร
bulletออกแบบตกแต่งห้องครัว คุณ ปราการ ม.กัลปพฤกษ์
bulletออกแบบตกแต่งบ้าน ม.Caza vill วัชรพล
bulletออกแบบตกแต่งบ้าน คุณ วิชุรดา Town+ X ลาดพร้าว
bulletออกแบบตกแต่งบ้าน คุณ สรชัย Habitia ปัญญารามอินทรา
bulletออกแบบตกแต่งห้องครัว สไตล์วินเทจ คุณ นภัทร ปิ่นเกล้า
bulletออกแบบ ตกแต่ง ห้องรับแขก คุณบุ๋ม สามย่าน
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโดขนาดเล็ก คุณหมวย Ideo103
bulletออกแบบตกแต่งภายในบ้าน คุณแก๊ป มบ. เศรษฐศิริ บางนา
bulletออกแบบ ตกแต่งบ้าน คุณเพียว มบ.นันทวัน ศรีนครินทร์
bulletตกแต่งห้องครัวสไตล์ลอฟท์ คุณจุไรรัตน์ มบ.บ้านกลางเมือง
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโดขนาดเล็ก คุณฝ้าย Pano ville รัชดา
bulletออกแบบตกแต่งคอนโดสุขุมวิท คุณกฤษ The Aguston
bulletออกแบบ ตกแต่ง ห้องครัวสไตล์ ลอฟท์ คุณอ้อย Casa Grand
bulletตกแต่งคอนโดสไตล์วินเทจ คุณปุ๊ก Ideo สาทร-ตากสิน
bulletตกแต่งคอนโด ขนาดเล็ก คุณใหม่The Verticle aree
bullet ตกแต่งภายในบ้าน คุณศิริพร มบ.ชัยพฤกษ์ พระราม5
bulletออกแบบ ตกแต่งภายในบ้าน คุณเอ็ม มบ.สราญสิริ สายไหม
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโดAbstract พหลโยธิน คุณเอก
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโดIdeoราชปรารภ คุณเต้
bulletตกแต่งคอนโด The Crest พหลโยธิน คุณเอกพล
bulletออกแบบ ตกแต่งภายในคอนโดHive Sathon k เชอรี่
bulletตกแต่งภายในคอนโดAspire สุขมุวิท48 คุณโน๊ต
bulletโต๊ะหมู่บูชาBuilt-in คุณอริสรา มบ ทัสคาน่า รามอินทรา
bulletตกแต่งห้องนอน มบ เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช อ่อนนุช คุณโทมัส
bulletออกแบบ ตกแต่งภายในบ้าน Life bangkok boulevard คุณนงลักษณ์
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโด M Ladprao คุณพรเทพ
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโดIdeo สาทร-ท่าพระ คุณธัญพร
bulletออกแบบตกแต่งภายในคอนโด Tree เอกมัย
bulletตกแต่งภายในคอนโดParkland วงษ์สว่าง คุณอ้วน
bulletตกแต่งคอนโดThe Base 77 คุณจารุภา
bulletตกแต่งภายในคอนโด C&C อินทมาระ29 คุณดรีม
bulletออกแบบตกแต่งภายในคอนโดFuseจันทน์-สาทร คุณอรรคเดช
bulletออกแบบตกแต่งบ้านสวยๆ Casa Grand คุณกอล์ฟ
bulletตกแต่งคอนโดThe Midst Rama9 คุณเบน
bulletออกแบบ ตกแต่งภายในบ้าน บางกอกบูเลอวาร์ด คุณศรัญยู
bulletรีโนเวทตกแต่งคอนโด Q-houseสาทร คุณธนิสา
bulletตกแต่งคอนโดขนาดเล็ก a-space ME Mega-bangna
bulletออกแบบตกแต่งภายในคอนโด tree condo สุขุมวิท50 คุณปาริยา
bulletออกแบบตกแต่งภายใน คอนโดMetroluxe
bulletออกแบบตกแต่งคอนโดศุภาลัยประชาชื่น คุณตะวัน
bulletตกแต่งภายในคอนโดศุภาลัย พระราม3 คุณยุวดี
bulletตกแต่งบ้านมัณฑนา บางนา กม.7 คุณหมอสิทธิยศ
bulletออกแบบ ตกแต่งคอนโด Le Cote Thonglor คุณแก๊ป
bulletตกแต่งภายในบ้าน Casa Legend เกษตร-นวมินทร์
bulletตกแต่งภายในคอนโด Supalai Veranda RAMA9
bulletตกแต่งภายในคอนโด Q victory
bulletตกแต่งภายในคอนโดวินเทจ Dolce Lasalle
dot
ตกแต่งร้านกาแฟ
dot
bulletตกแต่งร้านกาแฟ คุณปอย
bulletออกแบบตกแต่งร้านกาแฟ KAFEA CAFE villamarket พัทยา
bulletออกแบบตกแต่งร้านกาแฟ กาลครั้งหนึ่ง ชลบุรี
bulletตกแต่งร้าน serial นมสด Pama House
bulletออกแบบ ตกแต่ง ร้านกาแฟ coffee Brown อ่อนนุช
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกาแฟ คุณกอล์ฟ Cafe de Golfio สาทร 11
bulletตกแต่งร้านกาแฟสไตล์ Loft คุณแบงค์ Cafe De' Bangor
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านชานม HappyTea @The Circle
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกาแฟสไตล์วินเทจ คุณต้น CS Residence
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกาแฟสด Moka Coffee ซ.คู้บอน
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกาแฟสวยๆ คุณนุช รังสิต
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านชานมไข่มุก Cha Variety สีลม
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกาแฟสไตล์Loft คุณเจี๊ยบ Tanya Shopping Park
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านนมสดในห้าง คุณวิน Milky Man
bulletออกแบบตกแต่งร้านกาแฟในสวน คุณจงดี ลาดกระบัง
bulletตกแต่งร้านเครปในห้าง Union Mall
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านขนมในห้าง Churro Story
dot
ตกแต่งร้านเสื้อผ้า-ตกแต่งร้านในห้างสรรพสินค้า
dot
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้า Micky Mouse
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้า Bitter sweet Seacon square
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้าShow Room Esplanade รัชดา
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้า Ali Villa market รัชโยธิน
bulletออกแบบตกแต่งร้านเสื้อผ้า April & May K-Village
bulletออกแบบตกแต่งร้านเสื้อผ้า BEING สยามสแควร์
bulletออกแบบ ตกแต่ง ร้านเสื้อผ้า คุณเกด The Circle
bulletออกแบบตกแต่งร้านรองเท้า THREE @Terminal 21
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านกิ๊ฟช๊อป Hello neeya@Crystal Park
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านรองเท้าแฟชั่น 21byAOOM @Terminal 21
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเสื้อผ้า T-shirt painting @Terminal 21
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเสื้อผ้าสไตล์วินเทจ คุณโบว์ Nwf
bulletออกแบบ ตกแต่ง ร้านเสื้อผ้าเด็ก ธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค
bulletออกแบบ ตกแต่ง ร้านเสื้อแฟชั่นstyle Vintage ธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเสื้อผ้า คุณเกตุ ivory Silom Complex
bulletออกแบบตกแต่งร้านชุดแต่งงาน คุณภัทรานุช เมืองทองธานี
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้าในห้าง La Belle The Mall Bangkae
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้าสไตล์ลอฟท์ Heda @Terminal21
bulletตกแต่งร้านเสื้อผ้าสไตล์ลอฟท์ wardrobe addiction
dot
ตกแต่งร้านเพชร ตกแต่งร้านทอง ตกแต่งร้านเครื่องประดับ
dot
bulletตกแต่งร้านเครื่องประดับ อุ๊บอิ๊บ Central ชลบุรี
bulletออกแบบตกแต่งร้านขายเครื่องประดับ Angese @Esplanard รัชดา
bulletออกแบบตกแต่งร้านเพชร สีฟ้าเจมส์&จิวเวลรี่ พิษณุโลก
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเครื่องประดับ คุณแนน The Circle ราชพฤกษ์
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเพชร Sonne'Gems @The Circle
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเพชร ปันปณิธ ซีคอนบางแค
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเครื่องประดับ Silver Say Terminal21
bulletตู้โชว์ เครื่องเพชร
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเพชร สุพรรณบุรี
bulletออกแบบตกแต่งร้านทอง แสงทองใบเยาวราช
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านเพชร คุณกิตติกร เพลินารีมอลล์
bulletออกแบบตกแต่งร้านเพชร Diamond gems นครสวรรค์
bulletตกแต่งร้านทอง ทองใบ๑ (บางพลี)
dot
งานตกแต่งอื่นๆ
dot
bulletตกแต่งร้านขายยา
bulletShow room motocycle HONDA
bulletออกแบบตกแต่งร้านขายยา จ.ลพบุรี
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านขายยา Pharma Zone สมุทรสาคร
bulletออกแบบตกแต่งร้าน ขายเครื่องสำอางค์
bulletตกแต่งร้าน ขายเครื่องปรับอากาศ พรเพชรแอร์ จ.สมุทรสาคร
bulletออกแบบ ตกแต่งร้านสปาทำเล็บ Crystalnails by M @ CDC
bulletออกแบบตกแต่งร้านทำเล็บ Queen De Nail ซ.อารีย์
bulletออกแบบตกแต่งร้านทำผม PS professional Omni116
bulletออกแบบ ตกแต่ง ร้านขายยา คุณไชยา-พระราม 4
bulletตกแต่งร้านตัดผมชาย สไตล์วินเทจ
dot
Walk-in Closet
dot
bulletWalk-in Closet 1
dot
Built-in
dot
bulletบัญญัติ 21 ประการ วิธีดูแลบ้าน หลังน้ำท่วม




วัศดุที่ใช้ในงานตกแต่งภายใน

ก่อนอื่นมาพูดถึงวัสดุที่ทำกันก่อนดีกว่าครับ
ส่วนใหญ่แล้วที่วัสดุที่ช่างส่วนใหญ่ใช้ทำ เฟอร์นิเจอร์บิวน์อิน นั้น หลักๆ ก็จะมี   ไม้อัด   ไม้พาติเคิ้ล  ไม้ MDF   ไม้โครงต่างๆ  วัศุปิดผิวก็จะมีพวก ลามิเนต  กระดาษปิดผิว  ต่างๆ     หรือจะทำสีก็ว่ากันไปตามงบประมาณครับการใช้วัศดู แต่ล่ะชนิดก็ตามแต่งบประมาณและจุดประสงค์การใช้งานครับ

เรามาลงรายละเอียดกันซะหน่อยนะครับ

ว่ากันหลักๆเลย พี่ใหญ่ของเรา   ไม้  ครับ

 

1.ไม้อัด หรือไม้อัดสลับชั้น (Plywood)  หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการประกอบสมดุล โดยการนำไม้บางหลายแผ่น                             มาประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว ลักษณะที่สำคัญคือ
การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางความแข็งแรง
และลดการขยายตัวหรือหดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด

 

2. ) Particle Board คือแผ่นไม้ที่ผลิต จาก การนำไม้ตามธรรมชาติมาบดย่อย เป็นชิ้นขนาดเล็กๆและนำมาอัดเข้ารูปเป็นแผ่นด้วยความร้อน กาวพิเศษ และแรงอัด พร้อมการผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นและปลวก โดยจะผลิตเป็นแผ่นสำเร็จรูปขนาด 1200 x 2400 มม. และ ขนาด 1800 x 2400 มม. และมีขนาดความหนาต่างๆกัน เช่น ขนาดหนา 3 มม. , 9 มม.,16 มม., 19 มม., เป็นต้น
โดยแผ่นที่ผลิตได้ยังเป็นแผ่นเปลือย ที่จะต้องนำไปปิดผิว ภายนอกก่อนนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ ต่อ



3. ) MDF ( Medium Density Fiberboard ) เป็นไม้อัดที่ทำมาจาก ฝุ่นไม้ที่บดจนละเอียดผสมกาวแล้วอัดออกมาเป็นแผ่น ไม้แบบนี้นิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างส่วนที่ต้องการความแข็งแรง เพราะมีความหนาแน่นสูงกว่า Particle Board หรือจะใช้ในส่วนที่รับแรงเช่นหน้าโต๊ะ นิยมปิดผิวด้วยวัสดุปิดผิว และการทำสีทาหรือพ่นเคลือบ ส่วนใหญ่จะปิดผิวเสียมากกว่าเพราะการพ่นหรือทาสี จะยุ่งยากมากกว่ามาก และมีต้นทุนสูง รวมทั้งต้องใช้ ฝีมือในการทำสีอย่างมาก ( แต่ถ้าออกมาดีก็สวยครับ มัน เงา เรียบ แน่น )
 

 

พอรู้วัศดุไม้หลักๆ ในการตกแต่งบ้าน ตกแต่งภายใน  กันไปแล้ว ตอนนี้เรามาลงรายละเอียดกันซะหน่อยนะครับว่าไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์แต่ ล่ะชนิดมีที่มาแล้วแยกย่อย เป็นอะไรบ้าง   มีที่มาที่ไปอย่างไร.............ลูกค้าจะได้ไม่สับสนไม่โดย โฆษณาทาง TV หลอกขายเศษไม้   ราคาเป็นแสน

 

 

เริ่มที่ไม้อัดกันครับ

ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป จากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร

ไม้อัดไม้ประกอบถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ไม้ได้อย่างคุ้มค่าและชาญฉลาด
โดยการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีของไม้ (Wood Technology ) มาประยุกต์ใช
้จากการแปรรูปไม้หรือเศษเหลือจากอุตสาหกรรมโรงเลื่อย อุตสาหกรรมเครื่องเรือนหรืออื่น ๆ
นำกลับมาประกอบเป็นไม้ใหม่(Wood Reconstituted Board)
อีกทั้งเอื้ออำนวยคุณลักษณ์หลายๆ ด้าน เช่นความกว้างใหญ่ของแผ่นไม้
และความรู้ เทคโนโลยีไม้นี้ยังก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ขึ้นตลอดเวลา
เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของแผ่นไม้อัดไม้ประกอบให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

ไม้อัด
เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน
โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ
มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน
โดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ
ไม้อัดมีขนาด กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต หนา 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร

ลักษณะทั่วไปของไม้อัด
1. มีความแข็งแรงทนทานสูง มีความคงตัวไม่ยืดหด และแตกง่าย
2. สามารถตอกตะปูหรือใช้ตะปูควงขันใกล้ขอบแผ่น หรือทุกส่วนได้รอบด้าน
3. สามารถตัด เลื่อย และฉลุได้ง่าย ไม่แตกหัก สามารถโค้งงอได้โดยไม่ฉีกหัก
4. เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี
5. สามารถเก็บความร้อน และเสียงได้ดีกว่าไม้ธรรมดา
6. สามารถรับน้ำหนักได้ในอัตราที่สูงกว่าไม้ธรรมดา
7. ไม้อัดจากลาว จะมีสีแดงกว่าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพู เหลือง และสีขาว


ไม่อัดไม้บาง (Plywood & Veneer)

ไม้อัด หรือไม้อัดสลับชั้น (Plywood) หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการประกอบสมดุล
โดยการนำไม้บางหลายแผ่นมาประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว ลักษณะที่สำคัญคือ
การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางความแข็งแรง
และลดการขยายตัวหรือหดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด
แผ่นไม้อัด แยกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทใช้งานภายนอก (Exterior Plywood)
เป็นไม้อัดที่ผลิตด้วยกาวพิเศษ ซึ่งทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศได้ดี เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกอาคาร
หรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือเปียกชื้น เช่น ผนังภายนอก แบบหล่อคอนกรีตและต่อเรือ
2. ประเภทใช้งานภายใน (Interior Plywood)
เป็นไม้อัดที่ผลิตด้วยกาว ซึ่งทนความเปียกชื้นในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับใช้ในงานภายในอาคาร
หรือในที่ซึ่งไม่ถูกละอองน้ำ เช่น ตกแต่งผนังภายใน เฟอร์นิเจอร์ และฝ้าเพดาน
3. ประเภทใช้งานชั่วคราว
เป็นไม้อัดที่ผลิตด้วยกาว ซึ่งไม่ทนความเปียกชื้น เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราว เช่น
ทำลังบรรจุสิ่งของหรือป้ายโฆษณากลางแจ้งในระยะสั้น

 

ไม้อัดสักลายตรง

 

ไม้อัดสักลายภูเขา


แผ่นไม้ประกอบ ( Composite Board )
แผ่นไม้ประกอบการใช้เศษไม้ปลายไม้ที่เหลือจากโรงเลื่อย ซึ่งสามารถผลิตได้ โดยใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ คือ

1.แผ่นไม้ปาร์เก ( Parquet & Mosaic Parquet ) แต่เดิมนิยมผลิตจากไม้สัก
ต่อมาผลิตจากไม้ยางพาราและมีการใช้ไม้โตเร็วแล้วคือ ไม้ยูคาลิปตัส

2.แผ่นไม้ประสาน ( Block Board ) แผ่นไม้ประสานสามารถผลิตได้ในโรงเลื่อยหรือโรงงานผลิตเครื่องเรือน
โดย การนำเศษไม้เปลือกไม้จากโรงงาน มาตัดซอยให้ได้ขนาดอาจใช้การต่อปลายแบบนิ้วประสาน
แล้วทากาวด้านข้างเรียงต่อกันเป็นแผ่นกว้างใหญ่ขึ้น ด้วยกรรมวิธีการผลิตง่าย ๆ และใช้เศษไม้ปลายไม้ได้
วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ

แผ่นชิ้นไม้อัด (Particleboard)

แผ่นชิ้นไม้อัดใช้เศษไม้ปลายไม้ได้เช่นกัน มีลักษณะแผ่นชิ้นไม้อัดขนาดลดหลั่น ( Graduated ) ชนิดแผ่นชิ้น
ไม้อัด 3 ชั้น และ1 ชั้น ซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศ แผ่นชิ้นไม้อัดเริ่มมีบทบาทเด่นชัดขึ้นเพราะสามารถใช้ทดแทนไม่อัดได้
และราคาถูกกว่าอีกด้วย แผ่นชิ้นไม้อัดมักจะนำนำมาปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกฟอร์ไม้ก้า กระดาษตกแต่ง หรือนำมาใช้เป็นแกนกลาง
ของไม้อัดเพื่อเพิ่มความหนาของไม้อัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตไม้อัดแผ่นชิ้นไม้อัดบางชนิดมีรูตรงกลาง เพื่อลดปริมาณและน้ำหนัก
อีกทั้งใช้เป็นสองทางสอดท่อน้ำ สายไฟ และฉนวนกันความร้อนได้ด้วย
การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดนี้จะขยายตัวมากขึ้นตามความต้องการในการก่อสร้างการผลิตเครื่องเรือน และการนำไปเป็นแกนกลาง
ของไม้อีกดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้เทคโนโลยี การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดยังได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจนเทียบเท่าไม้อัดและไม้จริงคือ

1. แผ่นเวเฟอร์บอร์ด( Waferboard )

แผ่นเวเฟอร์บอร์ดนี้ใช้ชิ้นไม้ขนาดเล็กบางๆ เรียกว่าเกล็ดไม้ ( Flake ) มีทั้ง ลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแบ่งย่อย
เป็นชนิด Single – layer Waferboard , 3-layer Waferboard และชนิดพิเศษคือ Waferboard – plus
ตามลักษณะของเกล็ดไม้และ เรียงตัวโดยมีกาวเป็นสารเกาะยึด ซึ่งแผ่นเวเฟอร์บอร์ดที่ได้นี้จะมีคุณสมบัติ ที่เทียบเท่าหรือดีกว่า แผ่นไม้อัด

2. แผ่นเกล็ดไม้อัดเรียงชิ้น ( Oriented Strand Board ,OSB)


แผ่นเกล็ดไม้อัดเรียงชิ้นนี้ผลิตจากชิ้นไม้ที่มีลักษณะบางแบนและมีความยาวมากเมื่อเทียบกบความกว้าง เรียกว่า Strands
โดยนำมาเรียงชิ้นเป็นแผ่น 3 ชั้น คือผิวหน้าด้านนอกสองข้างจะเรียงตามความยาวแผ่น ส่วนแกนกลลางจะเรียงตามขวาง
เช่นเดียวกับลักษณะไม้อัดที่ให้ความแข็งแรงและความทนทานสูงใช้ทดแทนแผ่นไม้อัดได้เช่นเดียวกัน
ดังกล่าวนี้แผ่นชิ้นไม้อัดสามารถที่จะใช้เศษไม้ปลายไม้หรือไม้ท่อนเล็กๆ ได้และยังมีแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่มากคือ
ไม้ยางพาราและไม้โตเร็วในอนาคต อีกทั้งแนวโน้มการสร้างโรงงานแผ่นชิ้นไม้อัดไม่ว่าชนิดใดจะกระจายตัวออกไป
ตามแหล่งวัตถุดิบไม้ ย่อมทำให้เกิดการจ้างแรงงานช่วยกระจายได้ให้แก่ชนบทต่อไป
วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น


แผ่นใยไม้อัด ( Fiberboard )

แผ่นใยไม้อัดนี้สามารถผลิตแผ่นไม้ให้ทดแทนแผ่นไม้อัดไม้ประกอบอื่น ๆ ได้ดีโดยเฉพาะแผ่นใยไม้อัด
ความหนาแน่นปานกลาง ( MDF ) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงธรรมชาติและสามารถเพิ่มคุณค่าให้สูงขึ้น
โดยการปิดทับด้วยไม้บาง กระดาษตกแต่งฟอร์ ไมก้า เครือบเมลามีนแผ่นวัตถุกันความร้อน
หรือการพิมพ์สีสลักลายลงบนพื้นผิว นอกจากนี้แผ่นใยไม้อัดยังสามารถที่จะนำพืชเส้นใยทางเกษตรมาใช้ได้หลายชนิด
นับว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโรงเลื่อย โรงงานไม้อัดโดนนำเศษเหลือมาใช้ได้


แผ่นใยไม้อัดนี้สามารถจำแนกได้ ความหนาแน่นเป็น 2 กลุ่ม 5 ชนิดด้วย กัน คือ

1.แผ่นใยไม้อัดอ่อน หรือแผ่นใยไม้ฉันฉนวน (Softboard or Insulaion Board ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

o Semi-rigid Insulaion Board
o Rigid Insulaion Board


แผ่นไม้อัดอ่อนใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียง ใช้ทำฝาเพดานผนังห้องประชุมโรงมหรสพ ห้องเสียง ห้องสมุด และสำนักงาน ซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศต้องนำเข้ามาจากญี่ปุ่น

2.แผ่นใยไม้อัดแข็ง
( Hardboard ) แบ่งออกได้ 3 ชนิด

o แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปลานกลาง( Intermediate or medium Density Fiberboard,MDF )
แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางสามารถใช้ไม้ยูคา ลิปตัส เศษไม้ปลายไม้ชนิดต่าง ๆและชานอ้อยเป็นวัตถุดิบได้เช่นเดียวกัน
แผ่นใยไม้อัดชนิดนี้มีคุณสมบัติใก้ลเคียงไม้ธรรมชาติ ซึ่งมีความต้องการมางทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ
และมีการผลิตเป็นเครื่องเรือน และได้ราคาดีกว่าเครื่องเรือนจากแผ่นชิ้นไม้อัดที่มีเกรดดีที่สุดถึง 20 %-50%

o แผ่นใยไม้อัดแข็ง (Hardboard )
คือแผ่นไม้ที่ผลิตขึ้นจากการนำเอาสารประเภทลิกโนเซลลูโลส (Lignocelluloses) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในไม้ มาทำเป็นแผ่น
โดยนำมาอัดให้เป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ ผลิตตามกรรมวิธีเปียก (Wet-Process) เหมาะสำหรับ
- ตกแต่งภายในบ้าน เช่น ทำฝ้า เพดาน
- ทำเฟอร์นิเจอร์
- กรุภายในรถยนต์, ทำตู้ลำโพงวิทยุ และโทรทัศน์

การนำแผ่นใยไม้อัดแข็งไปใช้งาน ควรคำนึงถึงความหนาให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
หากใช้ทำฝ้า เพดาน หรือฝากั้นห้อง ควรใช้ความหนาที่ไม่ต่ำกว่า 4 มม.

แผ่นใยไม้อัดแข็ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้แทนวัสดุก่อสร้างประเภทเดียวกันได้ดี ราคาถูก มีทั้งชนิดธรรมดา(เรียบหน้าเดียว)
และชนิดลวดลาย อาทิ ลายไม้สัก ลายพิกุล ลายรางบัว ลายลูกฟูก และลายหนังแกะ เป็นต้น
แผ่นใยไม้อัดแข็งนี้สามารถใช้ไม้ยูคาลิปตัส เศษไม้ปลายไม้ และพืชเส้นใยพวกชานอ้อย

o แผ่นใยไม้อัดแข็งชนิดพิเศษ ( Special Densifi Hardboard ) เป็นแผ่นใยไม้อัด
เศษไม้ปลายไม้ เส้นใยพวกชานอ้อย

 

ตามมาด้วย    MDF

 

เรื่องไม้ MDF (Medium Density Fiber Board) หรือเรียกว่าแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Composite Panel ชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเส้นใยของไม้หรือพืชที่มีเส้นใย
หรือเส้นใยของวัสดุลิกโนเซลลูโลส (Lignocelluloses Material)
วัตถุดิบที่ใช้ ยูคาลิปตัส ยางพารา ฯลฯ นำมาผสมกับกาวสังเคราะห์ แล้วจึงอัดเป็นแผ่นโดยกรรมวิธีแห้ง
คืออัดด้วยความร้อน(Dry Process)เพื่อให้เกิดความยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยจนเป็นเนื้อเดียวกัน
โดยมีกาวเป็นตัวช่วยประสาน โดยมีความหนาแน่นสูง

 

 

คุณสมบัติของไม้ MDF
- มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่น และความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม
และถ้าแบ่งตามลักษณะคุณสมบัติ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ชนิดความหนาแน่นสูง โดยมากนิยมใช้ทำพื้นอาคาร, บ้านเรือน, นำไปปิดผิว พ่นสี ให้ดูดียิ่งขึ้น
2. ชนิดความหนาแน่นปานกลาง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งงานแกะสลักได้เกือบทุกชนิด
3. ชนิดความหนาแน่นต่ำ ปัจจุบันเริ่มมีใช้แพร่หลายทางยุโรป และอเมริกา นิยมใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ Knock-down

กรรมวิธีการผลิต MDF



1. วัสดุที่ใช้ในส่วนผสม ก็เอาไม้ยูคาลิป ต้นสน ต้นยางพารา เศษเยื่อไม้ที่เหลือจากการทำกระดาษ
(ชนิดใดชนิดหนึ่งนำมาผลิต) และกากชานอ้อยที่ได้ จากโรงานทำน้ำตาลทรายแล้ว เป็นวัตถุดิบ
2. นำเข้าเครื่องบดให้เป็นผงละเอียด
3. ผสมกาว เข้าหม้อกวน จนได้ที่
4. มีท่อลำเรียงจากหม้อผสมมาโรยบนแท่นอัด
5. รีดด้วยความร้อนออกมาเป็นแผ่น
6. นำมาตัดให้ไซด์มาตรฐานคือ กว้าง 48 นิ้ว คูณด้านยาว 96 นิ้ว เป็นแผ่นมาตรฐานของไม้อัด

ไม้อัดMDF มีความหนา 3มิล 6มิล 10มิล 15มิล

มีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ 3 บริษัท
1.วนชัยกรุ๊ป
2.บริษัทที่อยู่กบินทร์บุรี
3.เค-เค-วู๊ด อยู่ขอนแก่น

 

วิธีการปิดผิวของผลิตภัณฑ์ MDF



1. การปิดผิว ( Lamination )

1.1 การปิดด้วยกระดาษความหนาต่างๆ ตั้งแต่ 30 , 40 , 60 , 70 แกรม ด้วยกาวลาเทกส์

1.2 การปิดผิวด้วย PVC และกาวปิดพลาสติก นำไปใช้งานเฟอร์นิเจอร์ บานหน้าต่าง โต๊ะ ช่วยให้กันน้ำได้

1.3 OPP เป็นการปิดผิวแบบกระดาษ หรือ PVC แต่จะบางกว่าใช้กาวประเภทเดียวกับ PVC

1.4 การปิดผิวแบบ Membrane เป็นการห่อหุ้มชิ้นงาน เข้าในซอกหรือร่องชิ้นงาน
โดยการดูดอากาศออกจากกชิ้นงาน ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่งภายใน ทำคิ้ว บัว

1.5 การปิดผิวด้วย Veneer ใช้เป็นส่วนประกอบ ประตู หน้าต่าง หรือ ตัวเฟอร์นิเจอร์
ซึ่งดูภายนอกแล้วสวยงามเหมือนเป็นไม้จริง

1.6 การปิดผิวด้วย Melamine paper สามารถป้องกันน้ำได้ ป้องกันรอยขีดข่วน ผลิตภัณฑ์มีความทนทานต่อกรด

1.7 HPL ( High Pressure Laminate ) ที่นิยมเรียกกันว่าฟอร์เมกา ทำให้ผลิตภัณฑ์กันน้ำได้
ใช้ประกอบในการผลิตเครื่องครัวได้เป็นอย่างดี

2. การพ่นสี

2.1 การพ่นสีน้ำมัน ให้สีติดแน่นลบยาก ใช้ในการทำตกแต่งเฟอร์นิเจอร์
การทำสีด้วยแลคเกอร์ ทำได้ทั้งสีโปร่ง และสีทึบ สามารถพ่นทับด้วย Polyurethane นิยมใช้กับเฟอร์นิเจอร์เด็ก

2.2 ด้วยแลคเกอร์ พ่นทับด้วย PU ( Polyurethane ) ถ้าไม้ยูคาจะทำให้สรเข้มขึ้นอีก

2.3 การทำสีด้วย Polyurethane ทำให้ได้ความมันวาว เพื่อตกแต่งภายในครัว และพวกตู้ติดตั้งถาวร (Build in)
จะมีการทำสีที่หลายขั้นตอน และสุดท้ายพ่นด้วยอะคิลิกแลคเกอร์ เคลือบหน้าเงา

 

Spec. MDF เกรด A

/ ขนาดมาตรฐาน : 4 X 8 ขนาดพิเศษ 5 X 8 ฟุต , 4 X 10 ฟุต

--------------Properties----------------------------Range of Thickness
----------------------------------------------2.5 ----- 3.0, 3.2 ----- 4.0, 4.5, 5.0
Thickness Tolerance ( ความหนาบอร์ด) ----- +-0.25mm ----- +-0.30mm ----- +-0.40mm
Density ( ความหนาแน่นบอร์ด ) --------------------------- >= 900kg/m3
Modulus of Rupture ( ความต้านทานแรงดัด ) ---------------- >= 38 MPa
Moisture Content ( ความชื้นบอร์ด ) ---------- >= 5% ----- >= 5% ----- <= 12%
Thickness Swelling ( การพองตัว) ------------------------ <= 30%
Water Absorption ( ความดูดซึมน้ำ ) ---------------------- <= 60%
Diagonal ( เส้นแยงมุม ) ---------------------------------- <= 6.0mm


(ดูจาก Spec. แล้วนี่ ท่าทาง MDF จะกลัวน้ำนะ เพราะสามารถดูดน้ำได้ 60% พองตัวได้ 30%)

 

 

 

ข้อมูลอาจจะเรียงซ้อนกันไปบ้างก็อย่าว่ากันนะครับ  รวบรวมมาจากหลายๆที่ต้องขอบคุณ

เวปไซค์  กรมป่าไม้   การรวบรวมทบความของ คุณ จอมมารน้ำแข็งใส                                                                     


 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.